วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

 

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

ถ้าจำเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โรงงานหมิงตี้เคมีคอล ที่กิ่งแก้ว ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ใช้เวลาหลายสิบชั่วโมงกว่าที่เปลวเพลิงจะสลบ ซึ่งความเสียหายก็มหาศาล นับว่าเป็นบทเรียนแสนแพงเลยล่ะค่ะ ที่ทำให้หลายโรงงานต้องตระหนักเกี่ยวกับวิธีป้องกันไฟไหม้โรงงานกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต บทความนี้จึงจะแนะนำวิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน พร้อมการปฏิบัติตัวให้ถูกวิธีและปลอดภัย

โรงงานปลอดภัยได้ด้วยวิธีป้องกันไฟไหม้

เชื่อว่าเหตุการณ์ไฟไหม้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่คงจะดีกว่าถ้าเราจะล้อมคอกตั้งแต่วัวยังไม่ทันหาย ด้วยวิธีป้องกันไฟไหม้ ดังนี้

  1. วางแผนป้องกันไหม้อย่างจริงจังและรัดกุม

ทางผู้ประกอบการควรจัดทำแผนประเมินความเสี่ยง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำวิธีป้องกันไหม้ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงในหลายรูปแบบ โดยอาจจะศึกษาจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงก็ได้ แล้วจึงจัดอบรมพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อซักซ้อมในการเตรียมรับมือในสถานการณ์จริง เพื่อให้การปฏิบัติดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  1. เตรียมอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน มอก.

เมื่อเราจัดเตรียมวางแผนประเมินความเสี่ยง รวมถึงเตรียมความพร้อมของพนักงานและเจ้าหน้าที่แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. ซึ่งอุปกรณ์จะต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะได้หยิบมาใช้งานได้ทันท่วงมี

  1. ติดตั้งไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน

หลังครั้งเหตุไฟไหม้ที่เกิดในโรงงานมักมาจากไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นเราควรเลือกที่จะป้องกันมากกว่าแก้ไข เพราะการป้องกันก่อนที่เหตุจะเกิดขึ้น ผลกระทบก็จะน้อยกว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว โดยติดตั้งไฟฟ้าอิงตามมาตราการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 อย่าลืม หากพบเห็นหลอดไฟ สายไฟ ชำรุดให้ทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนไป ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่าง ตู้เมนสวิตช์ มอเตอร์ ให้หมั่นตรวจสอบ ตรวจตราอยูเสมอ

  1. จัดระเบียบสถานที่

หากพื้นที่ภายในโรงงานไม่เป็นระเบียบ ไม่ได้สัดส่วน ย่อมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดไฟไหม้ที่ยากจะหยุด นั่นเป็นเพราะหากเกิดไฟไหม้ขึ้น การจัดการที่จะเข้าถึงยังพื้นที่ต้นตอของไฟจะเป็นไปได้ยากลำบากมาก ทางเดินที่แน่นขนัดอาจปิดกั้นทางออก ทำให้คนหนีออกไปได้ยากขึ้น  คลังสินค้าที่แออัดทำให้เพลิงขยายวงกว้างได้ง่าย หรือการเก็บวัตถุอันตราย ก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดเพลิงลุกไหม้ได้เร็วขึ้นด้วย ดังนั้นการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนจึงเป็นพื้นฐานการป้องกันไฟไหม้เป็นอย่างดี

โดยเราต้องจัดการไม่ให้มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ตัดต่อไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำความร้อน ห้ามเก็บสินค้าภาย เว้นระยะห่างมากพอระหว่างหัวกระจายน้ำดับเพลิงและสินค้าที่จัดเก็บเพื่อให้ระบบกระจายน้ำดับเพลิงพ่นน้ำลงในบริเวณดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแยกวัตถุอันตรายออกจากวัตถุไม่อันตราย

  1. เพิ่มระดับความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก

นอกจากความประมาทจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดไฟไหม้ในโรงงานแล้วนั้น การลอบวางเพลิงยังเป็นสาเหตุที่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นการเพิ่มระดับความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ควร จึงตรวจตระเตรียมทั้ง พนักงานรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรในจุดอับและจุดทั่วไป รวมถึงสัญญาณเตือนภัยหรือสัญญาณกันขโมย เพื่อปกป้องทรัพย์สินและขัดขวางผู้บุกรุก

  1. มาตรการคุ้มเข้มเรื่องการสูบบุหรี่

หลายครั้งที่เกิดไฟไหม้ก็มาจากความมักง่ายของผู้สูบบุหรี่ และทิ้งก้นบุหรี่โดยปราศจากการดับเสียก่อน ดังนั้นโรงงานควรออกมาตรการคุมเข้มโดยการห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน แต่อาจจะจัดมุมหรือห้องสำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ ที่สำคัญเว้นระยะห่าง 10 เมตร จากวัตถุไวไฟในบริเวณมุมสำหรับสูบบุหรี่

หากเรารู้จักป้องกันหรือตระเตรียมความพร้อมเพื่อไม่ให้เกิดไฟไหม้อยู่เสมอ โรงงานและบุคลากรภายในโรงงานก็จะปลอดภัยและยังต้องสร้างโรงงานที่ถูกต้องตามหลัก 5ส


ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน