วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อยากมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ ทำได้จริงหรือไม่

อยากมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ ทำได้จริงหรือไม่

สร้างโรงงาน


หากใครที่มีฝันอยากจะมีโรงงานเป็นของตัวเอง แต่ยังกังวลใจที่ว่าไม่ได้มีเงินทุนที่มากมายนัก แล้วแบบนี้ฝันจะกลายเป็นจริงได้หรือไม่? แน่นอนว่าความฝันกับความเป็นจริงอาจจะต่างกัน การทำโรงงานก็อาจจะไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ อย่างฝันวาด เพราะต้องมีปัจจัยให้พิจารณาอีกเพียบ ซึ่งเราจะมาดูกันค่ะ ว่าหากคิดจะมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ จะต้องตรียมตัวศึกษาหรือพิจารณาในเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจทำโรงงาน

แน่นอนว่าในคนที่ทุนไม่มาก แต่อยากมีโรงงานเพื่อส่งเสริมการผลิตให้กับธุรกิจของคุณ ก็จะต้องพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านอย่างครอบคลุมเสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายในระยะยาว ซึ่งพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. ประเภทของโรงงาน พร้อมยื่นขออนุญาต

ไม่ว่าคุณจะเปิดโรงงานประเภทไหนก็ตาม ก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่าง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อยื่นขออนุญาตให้เปิดโรงงาน ซึ่งตามกฎหมายแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

       โรงงานประเภท 1 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน ความพิเศษของโรงงานนี้ คือ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต

       โรงงานประเภท 2 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาตเหมือนประเภท 1 ต่างกันที่ โรงงานประเภท 2 นี้ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี

       โรงงานประเภท 3 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้

  1. ศึกษาระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง ผู้ประกอบการควรรู้ระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามเกี่ยวกับการปลูกสร้างโรงงาน เพราะหากละเมิดจะต้องถูกปรับ หรือเลวร้ายถึงขั้นถูกรื้อถอน โดยโรงงานแต่ละประเภทจะมีข้อห้ามที่แตกต่างกัน ได้แก่

      โรงงานประเภท 1, 2 : ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

      โรงงานประเภท 3 : ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

      โรงงานทุกประเภท : ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณที่พักอาศัย อาทิ หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ ฯลฯ

 

  1. คำนวณค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

ขึ้นชื่อว่าทุนน้อย จะวางแผนทำอะไรเกี่ยวกับโรงงานจะต้องคิดอย่างรอบคอบค่ะ ยิ่งในช่วงเริ่มต้นของการสร้างโรงงานนั้น จะต้องจ่ายเงินทุนค่อนข้างสูง เพราะต้องรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และค่าระบบรักษาความปลอดภัย จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าเงินทุนที่คุณมีนั้นเพียงพอต่อการสร้างหรือไม่

  1. วางแผนกำหนด Target กลุ่มลูกค้า

โดยปกติแล้วต่อให้มีเงินทุกมาก แต่ขาดการวางแผน ก็ใช่ว่าโรงงานจะประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือการวางแผน เพื่อตอบโจทย์ของตัวคุณเองให้ได้ก่อนว่า โรงงานที่จะสร้างนี้ ใครคือกลุ่มเป้าหมาย ถ้ามีโรงงานแล้วจะผลิตไปขายให้ใคร มีช่องทางการกระจายสินค้าอย่างไร

  1. ออกแบบและกำหนดขนาดพื้นที่

ค่าใช้จ่ายสำหรับการมีโรงงานสักหนึ่งแห่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบและกำหนดขนาดพื้นที่ หากคุณมีทุนไม่เยอะ นั่นแปลว่าข้อจำกัดเรื่องของขนาดของพื้นที่ รวมถึงออฟชั่นต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในโรงงานก็จะถูกจำกัดไปด้วย จำไว้เสมอว่า ยิ่ง ออฟชั่นจัดเต็มมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็จะถูกบวกเพิ่มตามมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อตอบโจทย์และวางแผนได้แล้ว ว่าภายในโรงงานเราจะดำเนินการมีอะไรบ้าง แนะนำว่าควรพยายามจัดสรร Layout พื้นที่ขนาดเล็ก ให้เป็นสัดส่วน จะช่วยให้คุณมีพื้นที่มากพอจะเก็บสินค้า โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินให้แพงขึ้นเพื่อซื้อที่ดินที่ใหญ่ขึ้นเลยค่ะ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้ประกอบการที่อยากจะมีโรงงานเป็นของตัวเอง ได้พิจารณาเพื่อวางแผนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจที่จะสร้างโรงงาน

ติดต่อสร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้า

✅Best Price
✅โครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง
✅ประกอบติดตั้งด้วยระบบน๊อคดาวน์
✅การบำรุงรักษาต่ำ
✅แข็งแรง สวยงาม ตามมาตรฐานวิศวกรรม
✅คุ้มค่า งบประมาณไม่บานปลาย
✅มีผลงานก่อสร้างแล้ว มากมาย ทั่วประเทศ
✅รับสร้างตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป

ติดต่อ ☎️: 061-783-2233 : เยาว์ 094-464-6336 : ฟ้า
Line ID 📲: @tfcons หรือคลิ๊กลิงค์ https://lin.ee/t2akh7n
เวลาทำการ ⏰: 9.00-18.00 วันจันทร์ - ศุกร์
คลิกชมเว็ปไซต์ 🌐: www.tf-cons.com

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ไขข้อสงสัย กระเบื้องปูพื้น กับ กระเบื้องปูผนัง ใช้แทนกันได้ไหม

 



หากใครเคยก่อสร้างบ้าน มักจะพบกับปัญหาชวนให้คิดเวลาที่ทำพื้น เพราะบางครั้งสีของกระเบื้องปูผนังสวยบาดตาบาดใจ จนอยากจะเอามาทำกระเบื้องปูพื้น หรือบางทีก็อยากจะสลับเอากระเบื้องปูพื้นมาทำเป็นผนัง ว่าแต่ทั้งสองประเภทนั้นสามารถแทนกันได้หรือเปล่า มีใครเคยสงสัยเหมือนกันบ้างไหมคะ? ซึ่งก่อนที่เราจะหาคำตอบดังกล่าวนั้น เราจะต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทั้งสองประเภทนั้นก่อน

กระเบื้องปูพื้นคืออะไร

กระเบื้องปูพื้น คือ กระเบื้องที่มีลักษณะหนากว่ากระเบื้องปูผนังเพื่อให้รับน้ำหนักได้มาก เพราะต้องปูติดกับพื้นบ้านผิวหน้าเคลือบด้านเล็กน้อย เพื่อป้องกันการลื่นไถลเวลาเดิน สามารถใช้ทั้งปูพื้นและปูผนังได้แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ปูพื้นมากกว่า

กระเบื้องปูผนังคืออะไร

กระเบื้องที่มีความบางและเบา เพื่อลดน้ำหนักการยึดเกาะบนผนังแนวดิ่ง  ผิวหน้าของกระเบื้องมันวาวเหมาะกับการใช้ปูผนัง ทำให้ดูสวยงามและทำความสะอาดง่าย ขนาดของกระเบื้องที่ผลิตมีตั้งแต่ 8x8 ตารางนิ้ว, 8x10 ตารางนิ้ว, 8x12 ตารางนิ้ว ส่วนใหญ่มักนิยมขนาด 8x8 ตารางนิ้ว ส่วนขนาด 8x10 ตารางนิ้ว และ 8x12 ตารางนิ้ว เหมาะกับห้องที่มีขนาดเล็ก ซึ่งช่วยให้ห้องดูกว้างขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง กระเบื้องปูพื้น กับ กระเบื้องปูผนัง

1. กระเบื้องปูพื้นจะมีลักษณะที่หนากว่า และหนักกว่า รวมถึงผิวหน้าจะมีความหยาบและด้านมากกว่า ทั้งนี้การจะใช้กระเบื้องปูพื้นยังต้องคำนึงการใช้งานด้วยว่า ภายในหรือภายนอก หรือเป็นพื้นที่ที่ใครใช้งาน แต่ส่วนมากมักจะใช้ในพื้นที่ที่ต้องเปียกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงในการลื่นหกล้ม

2. กระเบื้องปูผนังจะมีลักษณะที่บางเบากว่า รวมถึงจะมีผิวหน้ามัน ก็จะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า แต่หากโดนน้ำแล้วจะเกิดความลื่น จึงไม่นิยมปูพื้นที่เปียกอย่างในห้องน้ำ ระเบียงนอกบ้าน ที่กลางแจ้ง เพราะอาจจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

3. กระเบื้องปูพื้นจะใช้วัสดุและการเผาที่แตกต่างจากกระเบื้องปูผนัง กล่าวคือ กระเบื้องปูพื้นะมีโทนสีเนื้อดินที่เข้มกว่ากระเบื้องปูผนังเพราะส่วนผสมเพื่อความแข็งแกร่งในการใช้งาน จึงทนต่อแรงกดอัดได้มากกว่า รวมถึงอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาก็มากกว่าด้วย แต่จุดที่น่าสังเกตคือ กระเบื้องปูพื้นค่าการดูดซึมน้ำต่ำถึงปานกลาง (3 – 6 เปอร์เซ็นต์)

กระเบื้องปูพื้นกับกระเบื้องปูผนังใช้แทนกันได้หรือไม่?

เราไม่นิยมนำกระเบื้องปูพื้นไปปูผนัง หรือนำกระเบื้องปูผนังไปปูพื้น เนื่องจากเพราะทั้งสองประเภทถูกผลิตมาให้ใช้งานเฉพาะด้าน และความแข็งแรงของกระเบื้องปูผนัง น้อยกว่ากระเบื้องปูพื้น กล่าวคือ ด้วยความที่กระเบื้องปูผนังมีความบางเบา การจะนำไปปูพื้น ก็จะเสี่ยงต่อการที่พื้นกระเบื้องร้าวหรือแตกได้ เพราะคุณสมบัติของกระเบื้องปูผนังออกแบบมาให้รองรับน้ำหนักได้น้อยกว่า จึงเปราะแตกได้ง่าย ในขณะที่กระเบื้องปูพื้นก็ไม่เหมาะกับการนำมาปูผนัง เพราะมีน้ำหนักที่มาก อาจจะไม่สามารถยึดเกาะผนังในแนวดิ่งได้ ซึ่งก็เป็นอันตรายต่อการหลุดร่วง

ข้อควรระวังในการปูกระเบื้อง

เราสามารถปูกระเบื้องได้เอง โดยจะเป็นกระเบื้องปูพื้นหรือกระเบื้องปูผนัง แต่สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงภึงก็คือข้อควรจะระวังในการปู เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยสุดของการปูพื้นและปูผนัง นั่นคือ กระเบื้องโก่ง ร่อน และระเบิด มาจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน และการเคลื่อนตัวตามปกติของโครงสร้าง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ร้อนหรือเย็นจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้กระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดความเสียหายได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากระเบื้องที่ได้มาตรฐาน และหากเกิดการหดขยายตัวของแผ่นกระเบื้อง หรือปูกระเบื้องชิดเกินไป ปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนว เมื่อกระเบื้องขยายตัว จะดันกันจนโก่งตัวหรือระเบิดแตกได้นั่นเอง

สำหรับการแก้ปัญหานั้น ต้องทำการเลาะกระเบื้องออกทั้งหมด รวมถึงสกัดปูนทรายหรือปูนกาวเดิมออกเพื่อปรับพื้นผิวและปรับระดับให้เหมาะสมเสียก่อน การปูให้เว้นรองยาแนวให้เหมาะสมกับประเภทกระเบื้องที่ใช้ สำหรับกระเบื้องทั่วไปควรเว้นยาแนวอย่างน้อย 3 มม. นอกจากนี้ควรใช้อุปกรณ์เว้นร่องยาแนว เพื่อช่วยคุมความกว้างของร่องยาแนวให้สม่ำเสมอเท่ากันในทุก ๆ ด้านอีกด้วย

สรุปแล้วทั้งกระเบื้องปูพื้นและกระเบื้องปูผนังไม่สามารถแทนกันได้นะคะ ทางที่ดีที่สุด ควรใช้งานให้ถูกประเภทของกระเบื้องแต่ละประเภทจะดีกว่า

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน