วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2565

Factory Foot Protection Equipment: Tips to Keep Your Feet Safe!

Factory Foot Protection Equipment: Tips to Keep Your Feet Safe!



Introduction: Factory Foot Protection Equipment (FFPE) is a critical piece of equipment for any business. It’s important to keep your feet safe, and Factory Foot Protection Equipment can help. By following these tips, you can keep your feet healthy and safe while using your FFPE.

Factory Foot Protection Equipment is Necessary for Safe Work.

factory foot protection equipment, also known as “toe shoes” or “toe stickers,” are devices that are worn inside the shoe to protect the feet from sharp objects and debris. Factory foot protection equipment is typically required by law in many countries, including the United States. It can help reduce workplace injury rates by reducing sharp object accidents and injuries.

The benefits of factory foot protection equipment include:

- saving lives and limbs in workplace accidents

- reducing the number of fractures and other injuries suffered from falls

- helping to prevent workplace fatalities and serious injuries

What are the Benefits of Factory Foot Protection Equipment.

The benefits of factory foot protection equipment can include:

- reducing the risk of workplace accidents and injuries

- improving work safety and productivity

- saving time and money on injury claims

What are the Safety Requirements for Factory Foot Protection Equipment.

Factory foot protection equipment must meet certain safety requirements in order to be effective. These requirements may include:

- requiring that devices be made from durable materials that will not bend or break under repeated use, such as metal or plastic

- ensuring that devices fit comfortably and firmly around the feet, preventing them from moving during use

- specifying the type of feet protection equipment to be worn (toe shoes, heel protectors, or both)

If you are planning to wear factory foot protection equipment in your workplace, be sure to familiarize yourself with the safety requirements and make sure it is safe for your specific feet. Be sure to research any potential risks and concerns before purchasing any device. And remember: always follow the manufacturer’s instructions carefully!

Get Started in Factory Foot Protection Equipment.

Choosing the right factory foot protection equipment can be tricky, but luckily there are a few things to consider. First, make sure you’re buying equipment that will protect your feet from harmful chemicals and sparks. Second, make sure the equipment is compatible with your shoes. Many manufacturers offer foot protection products in both men and women’s sizes, so it’s important to find one that will fit your needs. Finally, never put anything near your skin – even if it’s just some safety goggles – until you know what the equipment protects against.

Order the Right Factory Foot Protection Equipment.

Ordering the wrong factory foot protection equipment can lead to serious injuries or even death. Make sure to read product reviews before making a purchase and consult with a personal injury attorney to ensure you have proper liability insurance for any accidents or injuries caused by this equipment.

Get the Proper Factory Foot Protection Equipment.

Many people only think of footing when they're considering factory floor protection gear, but in truth, feet also need attention when outside in weather conditions (such as during winter). In addition to choosing the right type of footwear (or having it custom-made), be sure to properly ice and shelter your feet during cold weather and at night – these are all important steps for preventing frostbite and other dangerous effects from industrial exposures.

Keep Your Feet Safe at Work.

If you work at a factory, office, or other places where your feet may come in contact with dangerous materials, it’s important to keep them safe. In particular, you should:

- Keep your feet warm and dry during the winter.

- Wear proper shoes to protect your feet from sharp edges and debris.

- Safely store work tools and materials around your workplace.

- Use gloves when handling raw material or other hazardous substances.

- Educate yourself onOSH safety regulations and how to follow them in order to avoid injuries.

Conclusion

Factory Foot Protection Equipment is necessary for safe work. By choosing the right Factory Foot Protection Equipment, you can protect yourself and your coworkers from plant-based illnesses and other hazards. Ordering the right Factory Foot Protection Equipment also helps to ensure that you receive the appropriate equipment for your job. Stay safe at work by keeping your feet safe in the workplace and at home by protecting them from plant-based illnesses and other hazards.

รองเท้าเซฟตี้สู่รองเท้าแนว “STREETWEAR”

รองเท้าเซฟตี้ STREETWEAR


     จาก รองเท้าเซฟตี้  สู่ รองเท้าหนังแนว “StreetWear” เเพงโกลินขอแนะนำรองเท้า SNEAKER ยี่ห้อ PLY  (พลาย) คอลเลคชั่นแรกของพวกเรารุ่น “ORIGINAL  อีกหนึ่งของความภาคภูมิใจที่แพงโกลินได้มีส่วนร่วมนำเทคนิคและวัตถุดิบที่จะช่วยสร้างภายใต้แนวคิด ความอึด ทน ถึก แต่ สง่างาม  และการนำมาผสมผสานกับรูปแบบที่เหมาะกับ Lifestyle ของคนปัจจุบันเพื่อให้ทุกก้าวเดินอย่างมั่นใจ และกล้าที่จะออกไปใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตัวเอง

       รองเท้ายี่ห้อ PLY (พลาย) ไม่ใช่รองเท้าเซฟตี้นะครับ เพราะไม่มีหัวเหล็ก ตอนนี้เรามี 3 สีด้วยกัน คือ สีดำ สีขาว และ สีไอวารี่ ผู้หญิงก็ใส่ได้ ผู้ชายก็ใส่ดี ตั้งแต่ไซส์ 5 – 14 US รองเท้า SNEAKER พลายใส่ลุยได้ทุกกิจกรรม พร้อมให้คุณสนุก ออกไปใช้ชีวิตให้เต็มที่ ในแบบที่เป็น ตัวคุณ !

 คุณสมบัติของรองเท้า SNEAKER ยี่ห้อ PLY  (พลาย) 

  1. รองเท้า PLY  ใช้หนังวัวที่ถูกผลิตและออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับแบรนด์ PLY เท่านั้น โดยกรรมวิธีการผลิตหนังได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากล
  2. พื้นรองเท้า PLY มี Memory foam  ทำให้นุ่มสบายเท้า สปริงตัวได้ดี รองรับได้ทุกกิจกรรม
  3. พื้นรองเท้า PLY นอกจากนุ่มสบายแล้วยังเสริมแผ่นโลหะ (Midsole) ป้องกันของมีคมทะลุบริเวณฝ่าเท้า เพื่อให้คุณปลอดภัย และมั่นใจในทุกก้าวเดิน
  4. พื้นและหนังรองเท้า PLY ถูกเย็บเข้าไว้ด้วยกันทำให้แน่นหนาแข็งแรง พื้นไม่หลุด หรือเปิดอ้าแน่นอน

 5 วิธีดูแลรักษารองเท้า PLY  ให้ดู สวย เท่ห์ และใหม่อยู่เสมอ

  1. เชือกรองเท้า PLY ห้ามนำเชือกรองเท้าพลายไปซักลงในเครื่องซักผ้าเด็ดขาดแนะนำให้ซักด้วยมือเท่านั้น 

    โดยใช้น้ำอุ่นผสมกับผงซักฟอก ค่อยๆขยี้ด้วยมือให้คราบสกปรกหลุดออกและตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง หลังจากนั้นนำเชือกไปตากลมให้แห้ง
  2. รองเท้าหนัง นำผ้าขนหนูชุบแว๊กซ์ขัดรองเท้าหรือไขปลาวาฬ (โดยผ้าที่ใช้ควรมีสีตรงหรือใกล้เคียงกับหนังหรือเป็นผ้าสีขาวสะอาด)แล้วนำมาขัดบนหนังให้ทั่ว ด้วยการเช็ดเป็นวงกลมจนกว่ารองเท้าจะสะอาด และทิ้งให้แห้งตามปกติ สุดท้ายผ้าขนหนูขัดรองเท้าให้เบาเพื่อเพิ่มความเงางามและดูเหมือนใหม่

    กรณีเลอะคราบ รอยปากกา ขั้นตอนแรกควรลบคราบดำๆบนรองเท้าให้หมดด้วยยางลบ หรือใช้แปลงสีฟัน แปรงขัดรองเท้าปัดสิ่งสกปรกออกให้หมด แล้วทาน้ำยาเคลือบเล็บหรือสเตคลีนลงบนคราบหรือรอยขีดข่วน ใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูเช็ดบริเวณคราบนั้นๆและทิ้งไว้ให้แห้ง 1 คืนและสามารถบำรุงผิวหนังให้เหมือนใหม่ได้ตามขั้นตอนด้านบน
  3. รองเท้าหนังกลับ หนังขน การดูแลรักษาหนังให้เหมือนใหม่อยู่ตลอดเวลา สามารถนำแปรงขนม้ามาปัดขี้ฝุ่น สิ่งสกปรกออกให้หมดเสียก่อน และพ่นสเปรย์บำรุงหรือพ่นเคลือบ waterproof ลงบนผิวหนังกลับ
  4. ขอบพื้นรองเท้า สามารถนำแปลงสีฟันเก่าๆและยาสีฟันทำความสะอาดพื้นรองเท้า โดยควรเลือกใช้ยาสีฟันที่มีเนื้อครีมสีขาวแทนแบบเนื้อเจล เพราะยาสีฟันแบบเนื้อเจลอาจทำให้คราบยาสีฟันติดรองเท้าได้

    โดยเริ่มจากป้ายยาสีฟันในจุดที่ต้องการทำความสะอาด ใช้แปลงสีฟันเก่าขัดรองเท้าให้สิ่งสกปรกออก จากนั้นวางทิ้วประมาณ 10 นาที แล้วใช้ผ้าขนหนูชุบหมาดๆ เช็ดยาสีฟันออกให้หมด
  5. กรณีรองเท้าเปียกฝน นำเชือกรองเท้าออกไปซักทำความสะอาด และตัวรองเท้าไม่ควรนำไปตากแดด ไม่ควรเป่าไดร์เป่าผม และแนะนำให้วางที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกก็เพียงพอ

     เมื่อรองเท้าแห้งแล้ว แนะนำให้นำตัวเสริมทรงรองเท้าที่ทางเราแนบไปให้ในรองเท้าทุกคู่ ดันทรงไว้เพื่อให้รองเท้าเป็นทรงสวยเหมือนเดิม

         ลูกค้าแพงโกลินท่านไหนสนใจรองเท้า PLY รองเท้า SNEAKER ใส่เดินเที่ยวๆเท่ห์ มี 3 สีให้เลือก สีดำ สีขาว และ สีไอวารี่  จากราคา 2850 บาท แพงโกลินแจกโค้ดส่วนลด PANGO-I3R  เหลือ 2650 บาท เท่านั้น !!  ผ่านทางไลน์ Line@ : https://lin.ee/ddUF1MQ ได้เลยนะครับ#PLYSNEAKERS#BEAUTIFULLYTOUGH

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565

เลือกใช้ให้ถูก กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค คืออะไร




เลือกใช้ให้ถูก กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค คืออะไร

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็เห็นแต่คนใช้กระเบื้องยาง spc กันทั้งนั้น ด้วยคุณสมบัติหลัก ๆ ของตัวกระเบื้องที่ทั้งทนทาน ทนต่อแรงกระแทกได้อย่างดีเยี่ยม ทนน้ำ ทนปลวก ได้แบบ 100% มีความสวยงามราวกับวัสดุจริง ๆ จึงไม่แปลกใจเลยที่คนจะนิยมใช้กัน แต่เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวนี้ ก็มีกระเบื้องยางอีกแบบที่กำลังมา นั่นคือ “กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค” งงสิคะ เจ้า กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค คืออะไร ... ไม่รู้ แต่รู้ ๆ คือ เราจะต้องเลือกใช้ให้ถูกด้วยค่ะ เราไปทำความรู้จักกันดีกว่า

กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค คืออะไร

เป็นกระเบื้องที่ทำการติดตั้ง โดยไม่ต้องติดกาว ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการปูกระเบื้อง ที่ฝังทางยุโรปนิยมใช้กันมาก เนื่องจากวัสดุมีเนื้อดี และมีความทนทาน ประเทศไทยเราจึงนำมาใช้และนิยมกันมากด้วย และด้วยการนำเทคโนโลยีมาผลิตให้เป็นกระเบื้องที่ล้ำสมัย สามารถนำมาติดตั้งได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้วิธีที่ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะตัวกระเบื้องเองจะมีตัวล็อคไว้แล้ว เหมาะสำหรับใหม่ที่จะทำการติดตั้งด้วยตัวเอง ทำได้ไม่ยากเลยจริง ๆ มันจะดีแค่ไหน ถ้าเราได้ใช้กระเบื้องยางที่ให้สัมผัสพื้นผิวที่เหมือนกับวัสดุธรรมชาติในราคาที่ถูกกว่า เวลาเดินสัมผัสรู้สึกสบายเท้า ไม่ลื่นปลอดภัยแน่นอน ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย

คุณสมบัติของกระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค

เราก็ได้รู้จักกันไปเบื้องต้นแล้วว่า กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อคคืออะไร เราจะมาดูคุณสมบัติหลัก ๆ ของมันกันบ้าง ซึ่งมีดังนี้
  • ระบบคลิ๊กล็อคมีความแน่นหนาในการล็อคจึงช่วยให้ติดตั้งได้ง่ายขึ้น
  • ผิวหน้าถูกเคลือบชั้นป้องกันรอยขีดข่วนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น
  • ลดการหดตัวได้ดี
  • กันน้ำ และหมดปัญหาเรื่องปลวกแบบ 100%
ข้อดีของกระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค
  • มีราคาไม่แพง สามารถควบคุมงบประมาณในการทำได้ดี โดยพื้นกระเบื้องยางระบบคลิกล็อคมีความหนาที่ 4-5 มิลลิเมตร ราคาพื้นกระเบื้องยาง คลิ๊กล็อคเมื่อรวมติดตั้ง ทั่ว ๆ ไป จะอยู่ที่ประมาณ
    460-780 บาทต่อตารางเมตร ทั้งจะขึ้นอยู่กับรุ่นที่เลือกใช้ด้วย
  • วัสดุที่ใช้ผลิตออกมา ความแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทก มีความหนาสูง
  • ไม่มีรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้อง ช่วยลดที่อยู่ตามซอกกระเบื้องได้ และไม่มีความชื้นอยู่ระหว่างกระเบื้องได้
  • ติดตั้งง่าย และรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้กาว ใคร ๆ ก็ทำได้
  • ตัวกระเบื้องยางจะเคลือบด้วยฟิล์ม ป้องกันร่อยขีดข่วนได้ดี
  • เมื่อมีกระเบื้องยางส่วนไหนเกิดการเสีย เราสามารถซ่อมแซมได้ง่าย และรวดเร็ว
  • พื้นผิวกระเบื้องเรียบสวยงาม ไม่ทำให้ลื่น ปลอดภัยแน่นอน
  • พื้นของกระเบื้องยางมีความสวยงามเหมือนได้สัมผัสกับธรรมชาติ ดูแล้วสบายตา
  • พื้นกระเบื้องมีการยืดขยายและหดตัว น้อยกว่าพื้นกระเบื้องยางลายไม้ระบบปูกาว จากความหนาที่มากกว่าของพื้นกระเบื้องยางลายไม้ระบบคลิกล็อคที่มีความหนา 4-5 มิลลิเมตร อีกทั้ง ารประสานกันระหว่างแผ่นด้วยระบบคลิกล็อคช่วยลดการยืดหดขยายตัวของพื้นกระเบื้องยางระบบคลิกล็อคได้ดีกว่า
ข้อควรระวังในการใช้กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค
กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง หรือมีข้อดี คุณสมบัติอย่าง ก็ได้รู้กันไปแล้ว ซึ่งกระเบื้องประเภทนี้ก็เหมือนกระเบื้องประเภทอื่น ๆ ที่มีข้อจำกัด หรือข้อควรระวังในการใช้ นั่นคือ ก่อนจะติดตั้งต้องปรับระดับพื้นให้เท่ากันก่อน ถ้าหากติดตั้งทั้งที่พื้นยังไม่เรียบจะทำให้กระเบื้องมีลอนคลื่นได้
เราก็ได้เรียนรู้กันแล้วนะคะว่า กระเบื้องยาง spc คลิ๊กล็อค คืออะไร ต่อไปหากจะต้องปูพื้น ลองเปลี่ยนมาใช้กระเบื้องยางแบบนี้ดู ก็สะดวกดีไม่น้อยเลยน้า

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565

GMP คืออะไร ทำไมคนมีโรงงานต้องรู้

 

GMP คืออะไร ทำไมคนมีโรงงานต้องรู้

ใครหลายคนอาจจะคิดว่าการจะมีโรงงานนั้นง่ายนิดเดียว แค่มีเงิน นั่นก็ไม่ถูกต้องเสมอไปค่ะ ต้องบอกว่าการจะมีโรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นยากมาก มีอะไรที่ผู้ประกอบต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกันให้ดี ๆ โดยเฉพาะหากใครที่คิดจะอยากจะมีโรงงานเกี่ยวกับอาหาร ทุกคนจะต้องรู้จัก “GMP” เราจะเรียนรู้พร้อมกันว่า GMP คืออะไร คนมีโรงงานทำไมต้องรู้

GMP คืออะไร


ทำความรู้จัก GMP

งงกันไหมคะว่าตัวย่อ GMP คืออะไรก็แน่ แต่เชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง ซึ่ง GMP คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยครอบคลุมปัจจัยทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่โครงสร้างอาคารขั้นพื้นฐาน ระบบการผลิตที่ดี กระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุม บันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมั่นใจ

GMP ถือเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนําไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น HACCP และ ISO 9000 ตามมาตรฐานสากล โดยปัจจุบัน อย. ได้นําหลักเกณฑ์ของ GMP มา บังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมากสามารถปรับปรุงและปฏิบัติได้ตามเกณฑ์

ข้อกำหนดทั่วไป หรือ General GMP

1.     สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต

-            ที่ตั้งและสิ่งแวดล้อม : สถานที่ตัวอาคารและบริเวณโดยรอบจะต้องสะอาด หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหาร เช่นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ แมลง กองขยะ คอกปศุสัตว์ บริเวณที่มีฝุ่นมาก ฯลฯ

-            อาคารผลิต มีขนาดเหมาะสม : มีการออกแบบและก่อสร้างในลักษณะที่ง่ายแก่การบํารุงสภาพรักษาความสะอาด และสะดวกในการปฏิบัติงาน

2.     เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร ทำจากวัสดุที่มาทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม แข็งแรง ทนทาน โดยจะต้องมีจำนวนที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในแต่ละประเภท เพื่อไม่ให้เกิดการล่าช้าในการผลิต

3.     การควบคุมกระบวนการผลิต

มีการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีระบบจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และควรนําไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงต้องการควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการผลิตอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิและเวลามีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหาร

4.     . การสุขาภิบาล

เป็นเกณฑ์สำหรับสิ่งที่อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานทั้งหลาย เช่น น้ำใช้ ห้องน้ำห้องส้วม อ่างล้างมือ การป้องกันและกําจัดสัตว์และแมลง ระบบกําจัดขยะมูลฝอย ทางระบายน้ำทิ้ง

5.     การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด

เกณฑ์ข้อนี้จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมการป้องกันการปนเปื้อนอันตรายสู่อาหาร ไม่ว่าจะเป็น ตัวอาคารสถานที่ผลิต ต้องทำความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ สารเคมีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อจะต้องปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

6.     บุคลากร

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเป็นปัจจัยที่สำคัญ อันจะทำให้การผลิตเป็นไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงาน ดังนั้นบุคลากรควรได้รับการดูแลรักษาสุขภาพและความสะอาดส่วนบุคคล รวมทั้งการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาจิตสํานึกและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม

เราก็ได้รู้กันแล้วว่า GMP คืออะไร และสำคัญกับโรงงานอย่างไร ดังนั้นผู้ประกอบการควรศึกษารายละเอียดเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์และปลอดภัยต่อบุคลกรที่ทำงาน รวมถึงผู้บริโภคในปลายทางอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://steelframebuilt.com/

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

 

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

ถ้าจำเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โรงงานหมิงตี้เคมีคอล ที่กิ่งแก้ว ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ใช้เวลาหลายสิบชั่วโมงกว่าที่เปลวเพลิงจะสลบ ซึ่งความเสียหายก็มหาศาล นับว่าเป็นบทเรียนแสนแพงเลยล่ะค่ะ ที่ทำให้หลายโรงงานต้องตระหนักเกี่ยวกับวิธีป้องกันไฟไหม้โรงงานกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต บทความนี้จึงจะแนะนำวิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน พร้อมการปฏิบัติตัวให้ถูกวิธีและปลอดภัย

โรงงานปลอดภัยได้ด้วยวิธีป้องกันไฟไหม้

เชื่อว่าเหตุการณ์ไฟไหม้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่คงจะดีกว่าถ้าเราจะล้อมคอกตั้งแต่วัวยังไม่ทันหาย ด้วยวิธีป้องกันไฟไหม้ ดังนี้

  1. วางแผนป้องกันไหม้อย่างจริงจังและรัดกุม

ทางผู้ประกอบการควรจัดทำแผนประเมินความเสี่ยง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำวิธีป้องกันไหม้ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงในหลายรูปแบบ โดยอาจจะศึกษาจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงก็ได้ แล้วจึงจัดอบรมพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อซักซ้อมในการเตรียมรับมือในสถานการณ์จริง เพื่อให้การปฏิบัติดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  1. เตรียมอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน มอก.

เมื่อเราจัดเตรียมวางแผนประเมินความเสี่ยง รวมถึงเตรียมความพร้อมของพนักงานและเจ้าหน้าที่แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. ซึ่งอุปกรณ์จะต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะได้หยิบมาใช้งานได้ทันท่วงมี

  1. ติดตั้งไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน

หลังครั้งเหตุไฟไหม้ที่เกิดในโรงงานมักมาจากไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นเราควรเลือกที่จะป้องกันมากกว่าแก้ไข เพราะการป้องกันก่อนที่เหตุจะเกิดขึ้น ผลกระทบก็จะน้อยกว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว โดยติดตั้งไฟฟ้าอิงตามมาตราการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 อย่าลืม หากพบเห็นหลอดไฟ สายไฟ ชำรุดให้ทำการซ่อมแซมและเปลี่ยนไป ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่าง ตู้เมนสวิตช์ มอเตอร์ ให้หมั่นตรวจสอบ ตรวจตราอยูเสมอ

  1. จัดระเบียบสถานที่

หากพื้นที่ภายในโรงงานไม่เป็นระเบียบ ไม่ได้สัดส่วน ย่อมเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดไฟไหม้ที่ยากจะหยุด นั่นเป็นเพราะหากเกิดไฟไหม้ขึ้น การจัดการที่จะเข้าถึงยังพื้นที่ต้นตอของไฟจะเป็นไปได้ยากลำบากมาก ทางเดินที่แน่นขนัดอาจปิดกั้นทางออก ทำให้คนหนีออกไปได้ยากขึ้น  คลังสินค้าที่แออัดทำให้เพลิงขยายวงกว้างได้ง่าย หรือการเก็บวัตถุอันตราย ก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดเพลิงลุกไหม้ได้เร็วขึ้นด้วย ดังนั้นการจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนจึงเป็นพื้นฐานการป้องกันไฟไหม้เป็นอย่างดี

โดยเราต้องจัดการไม่ให้มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ตัดต่อไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำความร้อน ห้ามเก็บสินค้าภาย เว้นระยะห่างมากพอระหว่างหัวกระจายน้ำดับเพลิงและสินค้าที่จัดเก็บเพื่อให้ระบบกระจายน้ำดับเพลิงพ่นน้ำลงในบริเวณดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแยกวัตถุอันตรายออกจากวัตถุไม่อันตราย

  1. เพิ่มระดับความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก

นอกจากความประมาทจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดไฟไหม้ในโรงงานแล้วนั้น การลอบวางเพลิงยังเป็นสาเหตุที่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นการเพิ่มระดับความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ควร จึงตรวจตระเตรียมทั้ง พนักงานรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรในจุดอับและจุดทั่วไป รวมถึงสัญญาณเตือนภัยหรือสัญญาณกันขโมย เพื่อปกป้องทรัพย์สินและขัดขวางผู้บุกรุก

  1. มาตรการคุ้มเข้มเรื่องการสูบบุหรี่

หลายครั้งที่เกิดไฟไหม้ก็มาจากความมักง่ายของผู้สูบบุหรี่ และทิ้งก้นบุหรี่โดยปราศจากการดับเสียก่อน ดังนั้นโรงงานควรออกมาตรการคุมเข้มโดยการห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน แต่อาจจะจัดมุมหรือห้องสำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ ที่สำคัญเว้นระยะห่าง 10 เมตร จากวัตถุไวไฟในบริเวณมุมสำหรับสูบบุหรี่

หากเรารู้จักป้องกันหรือตระเตรียมความพร้อมเพื่อไม่ให้เกิดไฟไหม้อยู่เสมอ โรงงานและบุคลากรภายในโรงงานก็จะปลอดภัยและยังต้องสร้างโรงงานที่ถูกต้องตามหลัก 5ส


วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อยากมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ ทำได้จริงหรือไม่

อยากมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ ทำได้จริงหรือไม่

สร้างโรงงาน


หากใครที่มีฝันอยากจะมีโรงงานเป็นของตัวเอง แต่ยังกังวลใจที่ว่าไม่ได้มีเงินทุนที่มากมายนัก แล้วแบบนี้ฝันจะกลายเป็นจริงได้หรือไม่? แน่นอนว่าความฝันกับความเป็นจริงอาจจะต่างกัน การทำโรงงานก็อาจจะไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ อย่างฝันวาด เพราะต้องมีปัจจัยให้พิจารณาอีกเพียบ ซึ่งเราจะมาดูกันค่ะ ว่าหากคิดจะมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ จะต้องตรียมตัวศึกษาหรือพิจารณาในเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจทำโรงงาน

แน่นอนว่าในคนที่ทุนไม่มาก แต่อยากมีโรงงานเพื่อส่งเสริมการผลิตให้กับธุรกิจของคุณ ก็จะต้องพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านอย่างครอบคลุมเสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายในระยะยาว ซึ่งพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. ประเภทของโรงงาน พร้อมยื่นขออนุญาต

ไม่ว่าคุณจะเปิดโรงงานประเภทไหนก็ตาม ก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่าง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อยื่นขออนุญาตให้เปิดโรงงาน ซึ่งตามกฎหมายแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

       โรงงานประเภท 1 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน ความพิเศษของโรงงานนี้ คือ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต

       โรงงานประเภท 2 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาตเหมือนประเภท 1 ต่างกันที่ โรงงานประเภท 2 นี้ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี

       โรงงานประเภท 3 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้

  1. ศึกษาระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง ผู้ประกอบการควรรู้ระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามเกี่ยวกับการปลูกสร้างโรงงาน เพราะหากละเมิดจะต้องถูกปรับ หรือเลวร้ายถึงขั้นถูกรื้อถอน โดยโรงงานแต่ละประเภทจะมีข้อห้ามที่แตกต่างกัน ได้แก่

      โรงงานประเภท 1, 2 : ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

      โรงงานประเภท 3 : ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

      โรงงานทุกประเภท : ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณที่พักอาศัย อาทิ หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ ฯลฯ

 

  1. คำนวณค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

ขึ้นชื่อว่าทุนน้อย จะวางแผนทำอะไรเกี่ยวกับโรงงานจะต้องคิดอย่างรอบคอบค่ะ ยิ่งในช่วงเริ่มต้นของการสร้างโรงงานนั้น จะต้องจ่ายเงินทุนค่อนข้างสูง เพราะต้องรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และค่าระบบรักษาความปลอดภัย จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าเงินทุนที่คุณมีนั้นเพียงพอต่อการสร้างหรือไม่

  1. วางแผนกำหนด Target กลุ่มลูกค้า

โดยปกติแล้วต่อให้มีเงินทุกมาก แต่ขาดการวางแผน ก็ใช่ว่าโรงงานจะประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือการวางแผน เพื่อตอบโจทย์ของตัวคุณเองให้ได้ก่อนว่า โรงงานที่จะสร้างนี้ ใครคือกลุ่มเป้าหมาย ถ้ามีโรงงานแล้วจะผลิตไปขายให้ใคร มีช่องทางการกระจายสินค้าอย่างไร

  1. ออกแบบและกำหนดขนาดพื้นที่

ค่าใช้จ่ายสำหรับการมีโรงงานสักหนึ่งแห่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบและกำหนดขนาดพื้นที่ หากคุณมีทุนไม่เยอะ นั่นแปลว่าข้อจำกัดเรื่องของขนาดของพื้นที่ รวมถึงออฟชั่นต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในโรงงานก็จะถูกจำกัดไปด้วย จำไว้เสมอว่า ยิ่ง ออฟชั่นจัดเต็มมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็จะถูกบวกเพิ่มตามมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อตอบโจทย์และวางแผนได้แล้ว ว่าภายในโรงงานเราจะดำเนินการมีอะไรบ้าง แนะนำว่าควรพยายามจัดสรร Layout พื้นที่ขนาดเล็ก ให้เป็นสัดส่วน จะช่วยให้คุณมีพื้นที่มากพอจะเก็บสินค้า โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินให้แพงขึ้นเพื่อซื้อที่ดินที่ใหญ่ขึ้นเลยค่ะ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้ประกอบการที่อยากจะมีโรงงานเป็นของตัวเอง ได้พิจารณาเพื่อวางแผนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจที่จะสร้างโรงงาน

ติดต่อสร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้า

✅Best Price
✅โครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง
✅ประกอบติดตั้งด้วยระบบน๊อคดาวน์
✅การบำรุงรักษาต่ำ
✅แข็งแรง สวยงาม ตามมาตรฐานวิศวกรรม
✅คุ้มค่า งบประมาณไม่บานปลาย
✅มีผลงานก่อสร้างแล้ว มากมาย ทั่วประเทศ
✅รับสร้างตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป

ติดต่อ ☎️: 061-783-2233 : เยาว์ 094-464-6336 : ฟ้า
Line ID 📲: @tfcons หรือคลิ๊กลิงค์ https://lin.ee/t2akh7n
เวลาทำการ ⏰: 9.00-18.00 วันจันทร์ - ศุกร์
คลิกชมเว็ปไซต์ 🌐: www.tf-cons.com

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ไขข้อสงสัย กระเบื้องปูพื้น กับ กระเบื้องปูผนัง ใช้แทนกันได้ไหม

 



หากใครเคยก่อสร้างบ้าน มักจะพบกับปัญหาชวนให้คิดเวลาที่ทำพื้น เพราะบางครั้งสีของกระเบื้องปูผนังสวยบาดตาบาดใจ จนอยากจะเอามาทำกระเบื้องปูพื้น หรือบางทีก็อยากจะสลับเอากระเบื้องปูพื้นมาทำเป็นผนัง ว่าแต่ทั้งสองประเภทนั้นสามารถแทนกันได้หรือเปล่า มีใครเคยสงสัยเหมือนกันบ้างไหมคะ? ซึ่งก่อนที่เราจะหาคำตอบดังกล่าวนั้น เราจะต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทั้งสองประเภทนั้นก่อน

กระเบื้องปูพื้นคืออะไร

กระเบื้องปูพื้น คือ กระเบื้องที่มีลักษณะหนากว่ากระเบื้องปูผนังเพื่อให้รับน้ำหนักได้มาก เพราะต้องปูติดกับพื้นบ้านผิวหน้าเคลือบด้านเล็กน้อย เพื่อป้องกันการลื่นไถลเวลาเดิน สามารถใช้ทั้งปูพื้นและปูผนังได้แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ปูพื้นมากกว่า

กระเบื้องปูผนังคืออะไร

กระเบื้องที่มีความบางและเบา เพื่อลดน้ำหนักการยึดเกาะบนผนังแนวดิ่ง  ผิวหน้าของกระเบื้องมันวาวเหมาะกับการใช้ปูผนัง ทำให้ดูสวยงามและทำความสะอาดง่าย ขนาดของกระเบื้องที่ผลิตมีตั้งแต่ 8x8 ตารางนิ้ว, 8x10 ตารางนิ้ว, 8x12 ตารางนิ้ว ส่วนใหญ่มักนิยมขนาด 8x8 ตารางนิ้ว ส่วนขนาด 8x10 ตารางนิ้ว และ 8x12 ตารางนิ้ว เหมาะกับห้องที่มีขนาดเล็ก ซึ่งช่วยให้ห้องดูกว้างขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง กระเบื้องปูพื้น กับ กระเบื้องปูผนัง

1. กระเบื้องปูพื้นจะมีลักษณะที่หนากว่า และหนักกว่า รวมถึงผิวหน้าจะมีความหยาบและด้านมากกว่า ทั้งนี้การจะใช้กระเบื้องปูพื้นยังต้องคำนึงการใช้งานด้วยว่า ภายในหรือภายนอก หรือเป็นพื้นที่ที่ใครใช้งาน แต่ส่วนมากมักจะใช้ในพื้นที่ที่ต้องเปียกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงในการลื่นหกล้ม

2. กระเบื้องปูผนังจะมีลักษณะที่บางเบากว่า รวมถึงจะมีผิวหน้ามัน ก็จะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า แต่หากโดนน้ำแล้วจะเกิดความลื่น จึงไม่นิยมปูพื้นที่เปียกอย่างในห้องน้ำ ระเบียงนอกบ้าน ที่กลางแจ้ง เพราะอาจจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

3. กระเบื้องปูพื้นจะใช้วัสดุและการเผาที่แตกต่างจากกระเบื้องปูผนัง กล่าวคือ กระเบื้องปูพื้นะมีโทนสีเนื้อดินที่เข้มกว่ากระเบื้องปูผนังเพราะส่วนผสมเพื่อความแข็งแกร่งในการใช้งาน จึงทนต่อแรงกดอัดได้มากกว่า รวมถึงอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาก็มากกว่าด้วย แต่จุดที่น่าสังเกตคือ กระเบื้องปูพื้นค่าการดูดซึมน้ำต่ำถึงปานกลาง (3 – 6 เปอร์เซ็นต์)

กระเบื้องปูพื้นกับกระเบื้องปูผนังใช้แทนกันได้หรือไม่?

เราไม่นิยมนำกระเบื้องปูพื้นไปปูผนัง หรือนำกระเบื้องปูผนังไปปูพื้น เนื่องจากเพราะทั้งสองประเภทถูกผลิตมาให้ใช้งานเฉพาะด้าน และความแข็งแรงของกระเบื้องปูผนัง น้อยกว่ากระเบื้องปูพื้น กล่าวคือ ด้วยความที่กระเบื้องปูผนังมีความบางเบา การจะนำไปปูพื้น ก็จะเสี่ยงต่อการที่พื้นกระเบื้องร้าวหรือแตกได้ เพราะคุณสมบัติของกระเบื้องปูผนังออกแบบมาให้รองรับน้ำหนักได้น้อยกว่า จึงเปราะแตกได้ง่าย ในขณะที่กระเบื้องปูพื้นก็ไม่เหมาะกับการนำมาปูผนัง เพราะมีน้ำหนักที่มาก อาจจะไม่สามารถยึดเกาะผนังในแนวดิ่งได้ ซึ่งก็เป็นอันตรายต่อการหลุดร่วง

ข้อควรระวังในการปูกระเบื้อง

เราสามารถปูกระเบื้องได้เอง โดยจะเป็นกระเบื้องปูพื้นหรือกระเบื้องปูผนัง แต่สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงภึงก็คือข้อควรจะระวังในการปู เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยสุดของการปูพื้นและปูผนัง นั่นคือ กระเบื้องโก่ง ร่อน และระเบิด มาจากการปูที่ไม่ได้มาตรฐาน และการเคลื่อนตัวตามปกติของโครงสร้าง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ร้อนหรือเย็นจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้กระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดความเสียหายได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากระเบื้องที่ได้มาตรฐาน และหากเกิดการหดขยายตัวของแผ่นกระเบื้อง หรือปูกระเบื้องชิดเกินไป ปูชนแผ่นโดยไม่มีการยาแนว เมื่อกระเบื้องขยายตัว จะดันกันจนโก่งตัวหรือระเบิดแตกได้นั่นเอง

สำหรับการแก้ปัญหานั้น ต้องทำการเลาะกระเบื้องออกทั้งหมด รวมถึงสกัดปูนทรายหรือปูนกาวเดิมออกเพื่อปรับพื้นผิวและปรับระดับให้เหมาะสมเสียก่อน การปูให้เว้นรองยาแนวให้เหมาะสมกับประเภทกระเบื้องที่ใช้ สำหรับกระเบื้องทั่วไปควรเว้นยาแนวอย่างน้อย 3 มม. นอกจากนี้ควรใช้อุปกรณ์เว้นร่องยาแนว เพื่อช่วยคุมความกว้างของร่องยาแนวให้สม่ำเสมอเท่ากันในทุก ๆ ด้านอีกด้วย

สรุปแล้วทั้งกระเบื้องปูพื้นและกระเบื้องปูผนังไม่สามารถแทนกันได้นะคะ ทางที่ดีที่สุด ควรใช้งานให้ถูกประเภทของกระเบื้องแต่ละประเภทจะดีกว่า

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน