วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อยากมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ ทำได้จริงหรือไม่

อยากมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ ทำได้จริงหรือไม่

สร้างโรงงาน


หากใครที่มีฝันอยากจะมีโรงงานเป็นของตัวเอง แต่ยังกังวลใจที่ว่าไม่ได้มีเงินทุนที่มากมายนัก แล้วแบบนี้ฝันจะกลายเป็นจริงได้หรือไม่? แน่นอนว่าความฝันกับความเป็นจริงอาจจะต่างกัน การทำโรงงานก็อาจจะไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ อย่างฝันวาด เพราะต้องมีปัจจัยให้พิจารณาอีกเพียบ ซึ่งเราจะมาดูกันค่ะ ว่าหากคิดจะมีโรงงาน แต่ทุนไม่เยอะ จะต้องตรียมตัวศึกษาหรือพิจารณาในเรื่องอะไรบ้าง

ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจทำโรงงาน

แน่นอนว่าในคนที่ทุนไม่มาก แต่อยากมีโรงงานเพื่อส่งเสริมการผลิตให้กับธุรกิจของคุณ ก็จะต้องพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านอย่างครอบคลุมเสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายในระยะยาว ซึ่งพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. ประเภทของโรงงาน พร้อมยื่นขออนุญาต

ไม่ว่าคุณจะเปิดโรงงานประเภทไหนก็ตาม ก็ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่าง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อยื่นขออนุญาตให้เปิดโรงงาน ซึ่งตามกฎหมายแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

       โรงงานประเภท 1 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน ความพิเศษของโรงงานนี้ คือ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต

       โรงงานประเภท 2 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาตเหมือนประเภท 1 ต่างกันที่ โรงงานประเภท 2 นี้ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี

       โรงงานประเภท 3 : โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้

  1. ศึกษาระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง ผู้ประกอบการควรรู้ระเบียบข้อบังคับและข้อห้ามเกี่ยวกับการปลูกสร้างโรงงาน เพราะหากละเมิดจะต้องถูกปรับ หรือเลวร้ายถึงขั้นถูกรื้อถอน โดยโรงงานแต่ละประเภทจะมีข้อห้ามที่แตกต่างกัน ได้แก่

      โรงงานประเภท 1, 2 : ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

      โรงงานประเภท 3 : ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถาน และต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

      โรงงานทุกประเภท : ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณที่พักอาศัย อาทิ หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ ฯลฯ

 

  1. คำนวณค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

ขึ้นชื่อว่าทุนน้อย จะวางแผนทำอะไรเกี่ยวกับโรงงานจะต้องคิดอย่างรอบคอบค่ะ ยิ่งในช่วงเริ่มต้นของการสร้างโรงงานนั้น จะต้องจ่ายเงินทุนค่อนข้างสูง เพราะต้องรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และค่าระบบรักษาความปลอดภัย จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าเงินทุนที่คุณมีนั้นเพียงพอต่อการสร้างหรือไม่

  1. วางแผนกำหนด Target กลุ่มลูกค้า

โดยปกติแล้วต่อให้มีเงินทุกมาก แต่ขาดการวางแผน ก็ใช่ว่าโรงงานจะประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือการวางแผน เพื่อตอบโจทย์ของตัวคุณเองให้ได้ก่อนว่า โรงงานที่จะสร้างนี้ ใครคือกลุ่มเป้าหมาย ถ้ามีโรงงานแล้วจะผลิตไปขายให้ใคร มีช่องทางการกระจายสินค้าอย่างไร

  1. ออกแบบและกำหนดขนาดพื้นที่

ค่าใช้จ่ายสำหรับการมีโรงงานสักหนึ่งแห่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบและกำหนดขนาดพื้นที่ หากคุณมีทุนไม่เยอะ นั่นแปลว่าข้อจำกัดเรื่องของขนาดของพื้นที่ รวมถึงออฟชั่นต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในโรงงานก็จะถูกจำกัดไปด้วย จำไว้เสมอว่า ยิ่ง ออฟชั่นจัดเต็มมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็จะถูกบวกเพิ่มตามมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อตอบโจทย์และวางแผนได้แล้ว ว่าภายในโรงงานเราจะดำเนินการมีอะไรบ้าง แนะนำว่าควรพยายามจัดสรร Layout พื้นที่ขนาดเล็ก ให้เป็นสัดส่วน จะช่วยให้คุณมีพื้นที่มากพอจะเก็บสินค้า โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินให้แพงขึ้นเพื่อซื้อที่ดินที่ใหญ่ขึ้นเลยค่ะ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้ประกอบการที่อยากจะมีโรงงานเป็นของตัวเอง ได้พิจารณาเพื่อวางแผนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจที่จะสร้างโรงงาน

ติดต่อสร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้า

✅Best Price
✅โครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง
✅ประกอบติดตั้งด้วยระบบน๊อคดาวน์
✅การบำรุงรักษาต่ำ
✅แข็งแรง สวยงาม ตามมาตรฐานวิศวกรรม
✅คุ้มค่า งบประมาณไม่บานปลาย
✅มีผลงานก่อสร้างแล้ว มากมาย ทั่วประเทศ
✅รับสร้างตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป

ติดต่อ ☎️: 061-783-2233 : เยาว์ 094-464-6336 : ฟ้า
Line ID 📲: @tfcons หรือคลิ๊กลิงค์ https://lin.ee/t2akh7n
เวลาทำการ ⏰: 9.00-18.00 วันจันทร์ - ศุกร์
คลิกชมเว็ปไซต์ 🌐: www.tf-cons.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน