GMP คืออะไร ทำไมคนมีโรงงานต้องรู้
ใครหลายคนอาจจะคิดว่าการจะมีโรงงานนั้นง่ายนิดเดียว
แค่มีเงิน นั่นก็ไม่ถูกต้องเสมอไปค่ะ
ต้องบอกว่าการจะมีโรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นยากมาก
มีอะไรที่ผู้ประกอบต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกันให้ดี ๆ
โดยเฉพาะหากใครที่คิดจะอยากจะมีโรงงานเกี่ยวกับอาหาร ทุกคนจะต้องรู้จัก “GMP”
เราจะเรียนรู้พร้อมกันว่า GMP คืออะไร คนมีโรงงานทำไมต้องรู้
ทำความรู้จัก GMP
งงกันไหมคะว่าตัวย่อ
GMP คืออะไรก็แน่ แต่เชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง ซึ่ง GMP
คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย
โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ
เป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
โดยครอบคลุมปัจจัยทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่โครงสร้างอาคารขั้นพื้นฐาน
ระบบการผลิตที่ดี กระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน
นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุม บันทึกข้อมูล
ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมั่นใจ
GMP ถือเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนําไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น
ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น HACCP และ ISO 9000 ตามมาตรฐานสากล โดยปัจจุบัน อย.
ได้นําหลักเกณฑ์ของ GMP มา บังคับใช้เป็นกฎหมาย
โดยกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543
เพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมากสามารถปรับปรุงและปฏิบัติได้ตามเกณฑ์
ข้อกำหนดทั่วไป หรือ General GMP
1.
สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต
-
ที่ตั้งและสิ่งแวดล้อม : สถานที่ตัวอาคารและบริเวณโดยรอบจะต้องสะอาด
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหาร
เช่นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ แมลง กองขยะ คอกปศุสัตว์ บริเวณที่มีฝุ่นมาก ฯลฯ
-
อาคารผลิต มีขนาดเหมาะสม : มีการออกแบบและก่อสร้างในลักษณะที่ง่ายแก่การบํารุงสภาพรักษาความสะอาด
และสะดวกในการปฏิบัติงาน
2.
เครื่องมือ เครื่องจักร
และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
เครื่องมือ
เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร ทำจากวัสดุที่มาทำปฏิกิริยากับอาหาร
ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม แข็งแรง ทนทาน โดยจะต้องมีจำนวนที่เพียงพอ
และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในแต่ละประเภท เพื่อไม่ให้เกิดการล่าช้าในการผลิต
3.
การควบคุมกระบวนการผลิต
มีการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี
มีระบบจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และควรนําไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
รวมถึงต้องการควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการผลิตอาหาร
เนื่องจากอุณหภูมิและเวลามีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหาร
4.
. การสุขาภิบาล
เป็นเกณฑ์สำหรับสิ่งที่อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานทั้งหลาย
เช่น น้ำใช้ ห้องน้ำห้องส้วม อ่างล้างมือ การป้องกันและกําจัดสัตว์และแมลง
ระบบกําจัดขยะมูลฝอย ทางระบายน้ำทิ้ง
5.
การบำรุงรักษา
และการทำความสะอาด
เกณฑ์ข้อนี้จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเสริมการป้องกันการปนเปื้อนอันตรายสู่อาหาร ไม่ว่าจะเป็น ตัวอาคารสถานที่ผลิต
ต้องทำความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
สารเคมีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อจะต้องปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
6.
บุคลากร
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเป็นปัจจัยที่สำคัญ
อันจะทำให้การผลิตเป็นไปอย่างถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงาน
ดังนั้นบุคลากรควรได้รับการดูแลรักษาสุขภาพและความสะอาดส่วนบุคคล
รวมทั้งการฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาจิตสํานึกและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
เราก็ได้รู้กันแล้วว่า
GMP คืออะไร และสำคัญกับโรงงานอย่างไร
ดังนั้นผู้ประกอบการควรศึกษารายละเอียดเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์และปลอดภัยต่อบุคลกรที่ทำงาน
รวมถึงผู้บริโภคในปลายทางอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://steelframebuilt.com/