วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร

1. ข้อควรปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน เมื่อพบเหตุ เพลิงไหม้

     - ดึงอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือในบริเวณใกล้
     - ถ้าเพลิงยังมีขนาดเล็กพอที่จะดับเพลิงเองได้ให้ใช้ ถังดับเพลิงมือถือเข้าทำการดับเพลิง
     - ถ้าคิดว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ให้รีบอพยพหนี ออกจากพื้นที่ทันทีและให้ปิดประตูห้อง
     - การหนีไฟให้ใช้บันไดเท่านั้น ห้าม!
 ใช้ลิฟต์โดย เด็ดขาด

      ในกรณีไฟไหม้เสื้อผ้าที่สวมใส่

     - หยุดห้ามวิ่งหรือเดินต่อ เพราะไฟจะลุกลามง่ายขึ้น
     - ล้มตัวลงและนอนราบกับพื้น
     - ใช้มือสองข้างปิดหน้าและแขนแนบลำตัว
     - กลิ้งตัวทับไฟไป/มา จนกระทั่งเปลวเพลิงมอดดับ ก่อนร้องขอความช่วยเหลือ

     เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัย

     - อย่าตื่นเต้น ตกใจ! และอย่าห่วงทรัพย์สิน
     - อพยพออกจากพื้นที่เพื่อไปยังบันได โดยพยายาม สังเกตและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีควันหรือมีความร้อน
     - เมื่อท่านอพยพออกมาจากอาคารได้แล้ว
     - ห้ามกลับเข้าไปในอาคารอีกโดยเด็ดขาด
     - หากท่านทราบหรือพบว่ายังมีคนติดอยู่ ภายในอาคารให้แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
     - ให้รออยู่บริเวณที่ปลอดภัยภายนอก อาคารหรือบริเวณ ที่รวมพล พร้อมทั้งติดต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ของอาคาร เพื่อแจ้งชื่อและรายละเอียดประจำตัวท่าน ทั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอย่างยิ่ง

     2. ข้อควรปฏิบัติ (สำหรับบ้านพักอาศัย)

     - ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันอัตโนมัติ บริเวณภายใน ห้องนอน และทางเดินหน้าห้องนอน หรืออย่างน้อยชั้นละ 1 ชุด
     - จัดเตรียมถังดับเพลิงมือถือขนาด ที่สามารถใช้ได้ สะดวก อย่างน้อยชั้นละ 1 ชุด
     - จัดเตรียมให้มีช่องทางออกจากอาคาร ที่สามารถ ใช้ได้ทุกเวลา และซ้อมการหนีไฟให้เคยชิน
     - หน้าต่างที่ติดตั้งเหล็กดัด ต้องมีช่องที่เปิดได้อย่างน้อย 1 บานทุกห้อง
     - ใช้งานด้วยความระมัดระวังและ หมั่นตรวจสอบสภาพ พื้นที่ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ห้องครัว ห้องบูชาพระ ห้องเก็บของ และห้องเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
     - อย่าเก็บวัสดุไวไฟ น้ำมันก๊าด ทินเนอร์ ไว้ในบ้าน เป็นจำนวนมาก
     - ไม้ขีดไฟ, ไฟแช็ค ให้เก็บไว้ในที่มิดชิดระวัง เด็กนำไปเล่น
     - ขณะปรุงอาหารไม่ควรทำงานอย่างอื่น
     - อย่าสูบบุหรี่บนเตียงนอน
     - ก่อนเข้านอนให้ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า, เตาแก๊ส ฯลฯ

     (สำหรับโรงแรม .. ก่อนเข้าพัก)

     - ตรวจทางหนีไฟดูไว้อย่างน้อย 2 ทาง
     - ตรวจตำแหน่งอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ, อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง
     - ตรวจดูแผนผังอาคารที่ประตูห้องพักด้านใน เพื่อให้รู้ถึง ตำแหน่งห้องที่พักและทางหนีไฟ ที่ใกล้เคียงอย่างน้อย 2 ทาง
     - ตรวจสภาพการเปิด-ปิดประตู บันไดหนีไฟจะต้องอยู่ใน สภาพที่ใช้งานได้ และไม่มีการปิดล๊อค
     - ตรวจอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟว่าติดตั้ง หน้าห้องพัก และในห้องพักหรือไม่
     - ภายในห้องพักจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจจับควัน อัตโนมัติ และสังเกตสภาพความพร้อมในการทำงาน โดยดูที่ ไฟกระพริบสีแดงที่ตัวอุปกรณ์
     - ภายในห้องพักควรจะมีอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย เป็นต้น

     (สำหรับศูนย์การค้า .. ก่อนเข้าใช้บริการ)

     - ตรวจทางหนีไฟ ศึกษาแผนผังอาคาร
     - หมั่นสังเกตและตรวจสอบดูป้ายบอกทาง หนีไฟขณะ ใช้บริการ
     - อย่าตกใจเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งเตือนภัยหรือไฟฟ้าดับ ให้รีบจูงเด็กเล็ก (ถ้ามี) เดินออกนอกอาคารทันที



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน