วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

การเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการให้ปลอดภัย



โดยทั่วไปแล้วการเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการมีข้อควรปฏิบัติหลักๆ คือ แยกการเก็บสารเคมีตามประเภทอันตราย จากนั้นจึงค่อยวางเรียงลำดับตาม ตัวอักษร ไม่ควรเก็บสารเคมีบนชั้นในระดับเหนือสายตาขึ้นไปและควรเก็บใน ที่สถานที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ รวมทั้งสารเคมีทุกตัวควรมีการบันทึกวันที่ได้รับ เข้ามาใน ห้องปฏิบัติการและวันที่เปิดใช้
       นอกจากนี้การเก็บสารเคมีโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ผู้ใช้หรือผู้ที่มีสารเคมีควรทราบสมบัติบางประการของ สารเคมีนั้นๆ ด้วย เนื่องจากสารเคมีบางประเภทอาจต้องการความระมัดระวังใน การจัดเก็บเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น


       1. กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) ควรเก็บในภาชนะที่ไม่ใช่แก้วหรือโลหะ เนื่องจากมีฤทธิ์ กัดกร่อนสูง
       2. สารเคมีไวไฟ เช่น ฟอสฟอรัส (phosphorous) อะซิโตน (acetone) และเมธานอล (methanol) ควรเก็บห่างจากแหล่งกำเนิดเปลวไฟ สวิตช์ไฟที่ใช้ในห้องปฏิบัติการต้องไม่ทำให้เกิดประกายไฟ
       3. สารที่สลายตัวได้เมื่อโดนแสงหรือความร้อนหรือเกิดปฏิกิริยาต่อไปที่เป็นอันตราย เช่น สารเปอร์ออกไซด์ และ organometallics ควรเก็บไว้ในตู้เย็น
       4. ตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำ เช่น อะซีโตน (acetone) เพนเทน (pentane) ไดเอธิลอีเทอร์ (diethyl ether) เฮกเซน (hexane) และปิโตรเลียมอีเทอร์ (petroleum ether) ควรเก็บไว้ในที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่ควรให้ โดนแสงแดดโดยตรง
       5. ฟอสฟอรัสขาวซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดปฏิกิริยากับอากาศและเผาไหม้ได้เองที่อุณหภูมิปกติ ต้องเก็บในน้ำ
       6. โซเดียม (sodium) และโลหะอัลคาไลอื่นๆ ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ ต้องเก็บในน้ำมัน เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับน้ำหรือไอน้ำในอากาศ
       7. อีเทอร์ (ether) ควรเก็บในขวดสีชา เนื่องจากเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติได้ง่ายเมื่อถูกแสง


การปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้ ก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติภัยและก่อให้เกิด ความสะดวกแก่ผู้ใช้สารเคมีได้ ในเบื้องต้นแล้ว นอกเหนือจากข้อปฏิบัติเหล่านี้ ผู้ใช้หรือผู้ที่มีสารเคมีควรทำความเข้าใจ วิธีการจำแนกสารเคมีแต่ละ ประเภทรวมทั้งการจัด ห้องปฏิบัติการด้วยเพื่อการจัดเก็บสารเคมีที่มีความปลอดภัยมากขึ้น 


ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน