วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล



การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกลหรือการทำการ์ดเครื่องจักร หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ส่งผลให้เครื่องจักรมีลักษณะหรือคุณสมบัติที่ปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานอย่างปกติ โดยไม่มีผลต่อสมรรถนะของ เครื่องจักรหรือต่อความชำนาญของเครื่องจักรกลนั้นทำงาน 
การทำการ์ดเครื่องจักรกลมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องจักรกล แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
  • เครื่องต้นกำลัง (Prime mover machinery)
  • เครื่องส่งกำลัง (Transmission machinery)
  • เครื่องจักรทำการผลิต (Production machinery)
เป้าหมายในการออกแบบการ์ดเครื่องจักรกล

1. ให้การป้องกันอันตรายตั้งแต้ต้นมือ หมายความว่า เครื่องจักรกลต้องไม่ทำงานหากมีสิ่งแปลกปลอมไปอยู่ใน บริเวณอันตรายของเครื่องจักรกลนั้น ลักษณะของการ์ดประเภทนี้ให้ ความปลอดภัยสูง
2. ให้การป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย ในบางครั้งการควบคุมเครื่องจักรกลในทันทีทันใด อาจจะกระทำไม่ได้หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ เครื่องจักร ดังนั้น การต่อเติมชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนเข้าไป แล้วป้องกันอันตรายได้จึงเป็นทางเลือกที่ดี
3. ให้ความสะดวกแก่ผู้ทำงานเช่นเดียวกับที่ไม่ใส่การ์ด การ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการมอง การจับชิ้นงาน การควบคุมการทำงานและการตรวจวัดขนาด 
4. การ์ดที่ดีไม่ควรขัดขวางผลผลิต การใช้แผ่นกั้นหรือการมีปุ่ม 2 ปุ่มใน เครื่องปั๊มขึ้นรูปให้ความปลอดภัยแก่คนงาน อาจจะทำให้ช้าบ้างแต่ก็ต้อง ยอมรับผลผลิตกับความปลอดภัย ความปลอดภัยต้องมาก่อน
5. การ์ดเครื่องจักรกลควรใช้งานอย่างอัตโนมัติหรือด้วยแรงงานน้อยที่สุด เมื่อเครื่องจักรเริ่มทำงาน การ์ดต้องทำงานทันทีถ้ามีการเคลื่อนย้ายเครื่อง ต้องไม่ทำงาน อาจจะมีการใช้ตาไฟฟ้าช่วยได้
6. การ์ดควรเหมาะสมกับงานและกับเครื่องจักรนั้นๆ การ์ดที่สวยงามหรูหรา และสมบูรณ์แบบนั้น บางครั้งอาจจะไม่มีประโยชน์ในการป้องกันอันตรายเลย เพราะขัดขวางกับการทำงานระหว่างคนกับเครื่อง
7. พนักงานจำเป็นต้องถอดออก
8. การ์ดที่ดีควรมีลักษณะติดมากับเครื่องเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของ เครื่องมีความปลอดภัยในตัวสูงอยู่แล้ว
9. การ์ดที่ดีควรเอื้ออำนวยต่อการเติมน้ำมันหรือซ่อมบำรุงฝา ครอบเครื่องจักรที่ปิดครอบชุดเฟืองหรือสายพาน ควรทำ ให้เปิดซ่อมบำรุง
10. การ์ดที่ดีควรทนทานต่อการใช้งานปกติและมีการบำรุงรักษาน้อยที่สุด ฝาคือส่วนที่อยู่นอกสุดถ้าไม่แข็งแรง ทนทาน อาจเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนภายในได้ 
11. การ์ดเครื่องจักรที่ดี ควรป้องกันอันตรายที่ไม่ได้คาดหมายได้ดี นอกจากอันตรายที่มองเห็นเฉพาะหน้า หมายความว่า ต้องป้องกันได้ทุกสถานการณ์


การทำงานกับเครื่งจักรต้องระมัดระวัง

หลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล การทำการ์ดให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรกล มี 4 ประการ สำคัญดังนี้

ก. หลักการป้องกันหรือขัดขวางมิให้เข้าไปสัมผัสจุดอันตรายของเครื่อง ได้แก่
  • ออกแบบเครื่องจักรโดยวางจุดอันตรายไว้ภายใน
  • จำกัดขนาดของช่องเปิดมิให้มือหรืออวัยวะอื่นเข้าได้
  • จัดช่องวางที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดการหนีบอัด หรือกระแทกของอวัยวะระหว่างผิวงานของเครื่องจักร
  • แผ่นหรือตะแกรงปิดกั้นถาวร มิให้ส่วนที่มีอันตรายโผล่ หรือเปิดเผย ต่อการสัมผัสได้

เมื่อมีปัญหาควรร่วมกันคิดเพื่อแก้ไข

ข . หลักการควบคุมโดยให้มือออกพ้นจากบริเวณอันตราย ได้แก่
  • การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม
  • การใช้ชุดควบคุมที่อยู่ใกล้ (Remote Control)
ค. หลักการเครื่องจะไม่ทำงานถ้าไม่เอามือออกไปจากเขตอันตราย ได้แก่
  • การใช้ระบบลำแสงนิรภัย
  • การใช้ก้านหรือราวป้องกันที่ควบคุมด้วยเครื่องที่เรียกว่าราวนิรภัยหรือฝาครอบนิรภัย
ง. หลักการปัดให้พ้นเขตอันตรายก่อนทำงาน ซึ่งได้แก่
  • เครื่องปัดมือออกก่อนตัด
  • ตะแกรงกดหรือกวาดสิ่งกีดขวางก่อนใบมีดจะเคลื่อนไป
ปัจจัยในการพิจารณาในการเลือกใช้ เครื่องมือจับชิ้นงาน

1. ออกแบบเครื่องมือให้ใช้สะดวกและถนัดมือที่สุด เช่น น้ำหนักเบา ได้ศูนย์ มีด้ามจับสะดวก หยิบง่าย
2. คีมหนีบแบบต่างๆ ควรติดสปริงคายไว้ เพื่อให้คีมคายปากคีบออกได้เองเมื่อปล่อยมือออก
3. เพื่อลดความสึกหรอของแม่พิมพ์หรือขอบชิ้นงานตรงปลายหนีบของคีมจับควรสวมต่อด้วยวัสดุอ่อน ที่เหมาะสม
4. วัสดุที่ใช้ทำคีมควรคงทนต่อสภาพการใช้งาน โดยเฉพาะตรงปากจับไม่ควรเป็นสนิม



ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน